A theme of the age, at least in the developed world, is that people crave silence and can find none. The roar of traffic, the ceaseless beep of phones, digital announcements in buses and trains, TV sets blaring even in empty offices, are an endless battery and distraction. The human race is exhausting itself with noise and longs for its opposite—whether in the wilds, on the wide ocean or in some retreat dedicated to stillness and concentration. Alain Corbin, a history professor, writes from his refuge in the Sorbonne, and Erling Kagge, a Norwegian explorer, from his memories of the wastes of Antarctica, where both have tried to escape.
And yet, as Mr Corbin points out in "A History of Silence", there is probably no more noise than there used to be. Before pneumatic tyres, city streets were full of the deafening clang of metal-rimmed wheels and horseshoes on stone. Before voluntary isolation on mobile phones, buses and trains rang with conversation. Newspaper-sellers did not leave their wares in a mute pile, but advertised them at top volume, as did vendors of cherries, violets and fresh mackerel. The theatre and the opera were a chaos of huzzahs and barracking. Even in the countryside, peasants sang as they drudged. They don’t sing now.
What has changed is not so much the level of noise, which previous centuries also complained about, but the level of distraction, which occupies the space that silence might invade. There looms another paradox, because when it does invade—in the depths of a pine forest, in the naked desert, in a suddenly vacated room—it often proves unnerving rather than welcome. Dread creeps in; the ear instinctively fastens on anything, whether fire-hiss or bird call or susurrus of leaves, that will save it from this unknown emptiness. People want silence, but not that much. | หัวข้อที่มีการพูดถึงบ่อย ๆ ในขณะนี้ อย่างน้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว คือการที่ผู้คนกระหายหาความเงียบสงบแต่ไม่สามารถค้นพบมันได้เลย เสียงอึกทึกครึกโครมจากการจราจร เสียงแจ้งเตือนของโทรศัพท์ที่ดังขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน เสียงประกาศของระบบดิจิตอลบนรถประจำทางและบนรถไฟ เสียงโทรทัศน์ที่ดังแม้แต่ในออฟฟิศที่ว่างเปล่า สิ่งเหล่านี้เป็นการรุกรานและรบกวนใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น มนุษยชาติกำลังเหน็ดเหนื่อยกับเสียงรบกวนและโหยหาสิ่งตรงกันข้าม ไม่ว่าจะเป็นในป่า บนมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ หรือในสถานที่เงียบสงบที่ให้ความสงบนิ่งและสามารถใช้สมาธิได้ อะแล็ง กอร์บัง (Alain Corbin) ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาตร์เขียนจากสถานที่เงียบสงบของเขาในซอร์บอนน์ และเออร์ลิง แคกกี (Erling Kagge) นักสำรวจชาวนอร์เวย์เขียนจากความทรงจำของเขาเกี่ยวกับขยะในทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งเป็นที่ที่ทั้งสองได้พยายามหลบลี้ และถึงกระนั้น อย่างที่นายกอร์บังชี้ให้เห็นใน “ประวัติศาสตร์ของความเงียบสงบ” อาจเป็นไปได้ว่าไม่มีเสียงรบกวนมากไปกว่าที่เคยเป็น ก่อนที่จะมีการใช้ยางสูบลม ถนนเส้นต่าง ๆ ในตัวเมืองได้เคยเต็มไปด้วยเสียงอื้ออึงของล้อที่มีขอบเป็นโลหะและเสียงเกือกม้าที่กระทบกับก้อนหิน ก่อนที่ผู้คนจะจงใจแยกตัวโดยจดจ่ออยู่กับโทรศัพท์มือถือ รถประจำทางและรถไฟได้เคยเต็มไปด้วยเสียงของผู้คนที่สนทนากัน พ่อค้าแม่ค้าหนังสือพิมพ์ไม่ได้ปล่อยให้สินค้าของพวกเขาวางขายอยู่บนแผงอย่างเงียบ ๆ แต่ได้ตะโกนเสียงดังเพื่อโฆษณาขายอย่างที่คนขายเชอรี่ ต้นไวโอเล็ต และปลาทูสดได้เคยทำกัน โรงละครและโอเปร่าได้เคยกึกก้องไปด้วยเสียงโห่ร้องไชโยและเสียงพูดสอดแทรก แม้แต่ในชนบท ชาวไร่ชาวนาก็ยังเคยร้องเพลงกันเพราะพวกเขาทำงานหนัก ตอนนี้พวกเขาไม่ร้องเพลงกันแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ใช่ระดับของเสียงรบกวนที่ดังขึ้นเพราะในศตวรรษก่อน ๆ ก็เคยมีการบ่นถึงปัญหาดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว แต่เป็นระดับของสิ่งกวนใจที่เข้ามาครองที่ที่น่าจะเป็นความเงียบสงบแทน มีความขัดแย้งอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากว่าเมื่อบรรยากาศเต็มไปด้วยความเงียบสงบ เช่น ในป่าสนที่ลึก ในทะเลทรายที่เปลือยเปล่า ในห้องที่ผู้คนออกจากห้องทั้งหมดทีเดียว บรรยาการเงียบสงบดังกล่าวมักจะน่ากลัวมากกว่าที่จะเป็นบรรยากาศที่ผู้คนเสาะแสวงหา ความกลัวค่อย ๆ คลืบคลานเข้ามา หูเริ่มไวต่อเสียงของทุกอย่างโดยสัญชาตญาน ไม่ว่าจะเป็นเสียงฟ่อของไฟ เสียงนกร้อง หรือเสียงกรอบแกรบของใบไม้ที่จะช่วยให้หลุดพ้นออกจากความว่างเปล่าที่ไม่รู้จักนี้ ผู้คนต้องการความเงียบสงบแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเงียบถึงขนาดนั้น |