A theme of the age, at least in the developed world, is that people crave silence and can find none. The roar of traffic, the ceaseless beep of phones, digital announcements in buses and trains, TV sets blaring even in empty offices, are an endless battery and distraction. The human race is exhausting itself with noise and longs for its opposite—whether in the wilds, on the wide ocean or in some retreat dedicated to stillness and concentration. Alain Corbin, a history professor, writes from his refuge in the Sorbonne, and Erling Kagge, a Norwegian explorer, from his memories of the wastes of Antarctica, where both have tried to escape.
And yet, as Mr Corbin points out in "A History of Silence", there is probably no more noise than there used to be. Before pneumatic tyres, city streets were full of the deafening clang of metal-rimmed wheels and horseshoes on stone. Before voluntary isolation on mobile phones, buses and trains rang with conversation. Newspaper-sellers did not leave their wares in a mute pile, but advertised them at top volume, as did vendors of cherries, violets and fresh mackerel. The theatre and the opera were a chaos of huzzahs and barracking. Even in the countryside, peasants sang as they drudged. They don’t sing now.
What has changed is not so much the level of noise, which previous centuries also complained about, but the level of distraction, which occupies the space that silence might invade. There looms another paradox, because when it does invade—in the depths of a pine forest, in the naked desert, in a suddenly vacated room—it often proves unnerving rather than welcome. Dread creeps in; the ear instinctively fastens on anything, whether fire-hiss or bird call or susurrus of leaves, that will save it from this unknown emptiness. People want silence, but not that much. | อย่างน้อยในโลกที่พัฒนาแล้ว วิถีแห่งยุคสมัยก็คือผู้คนถวิลหาความเงียบและไม่อาจพบได้เลย เสียงอึกทึกของจราจร เสียงโทรศัพท์กริ๊งกร๊างไม่หยุดหย่อน เสียงประกาศในรถประจำทางและรถไฟ โทรทัศน์ส่งเสียงดังแม้ในสำนักงานที่ว่างเปล่า มาเป็นชุดที่ไม่จบสิ้นและเป็นเครื่องก่อกวนความสนใจ เผ่าพันธุ์มนุษย์กำลังทำให้ตัวเองเหน็ดเหนื่อยอ่อนเปลี้ยด้วยเสียง และโหยหาสิ่งตรงข้ามกับเสียง – ไม่ว่าจะเป็นในผืนป่า มหาสมุทรกว้าง หรือในสถานที่สงัดเพื่อก่อให้เกิดสมาธิ ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์อะแลง คอร์แบงเขียนหนังสือจากที่หลบมุมของเขาในมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ และนักสำรวจชาวนอร์เวย์ อาร์ลิง คักเก จากความทรงจำของเขาเกี่ยวกับทุ่งโล่งในแอนตาร์คติก ซึ่งทั้งสองได้พยายามหลบไปอยู่ แม้กระนั้นก็ตาม ดังที่มิสเตอร์คอร์แบงกล่าวไว้ใน “ประวัติศาสตร์แห่งความเงียบ” อาจไม่มีเสียงดังเกินกว่าที่เคยมีก็ได้ ก่อนจะมียางแบบสูบลมอย่างทุกวันนี้ ถนนในเมืองอื้ออึงไปด้วยเสียงดังของล้อเหล็กและเกือกม้ากระทบก้อนหิน ก่อนที่คนจะอยู่กับโทรศัพท์มือโดยสมัครใจ รถเมล์และรถไฟก็มีเสียงพูดคุย คนขายหนังสือพิมพ์ไม่ได้กองผลิตภัณฑ์ของพวกเขาไว้เป็นตั้งเงียบๆ แต่ร้องขายมันเต็มเสียง พอๆกับคนขายลูกเชอรี่ ดอกไวโอเล็ต และปลาแมคเคอรัล โรงละครและโรงโอเปร่าชุลมุนวุ่นวายไปด้วยเสียงตะโกนรับและเสียงพูดแทรก แม้ในชนบท ชาวนาก็ร้องเพลงขณะที่พวกเขาตรากตรำงาน เดี๋ยวนี้เขาไม่ร้องแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนไปไม่ใช่ระดับเสียง ซึ่งศตวรรษที่แล้วก็มีความไม่พอใจอยู่ แต่เป็นระดับของการเบี่ยงเบนความสนใจ ซึ่งครอบครองพื้นที่ที่ความเงียบจะรุกเข้ามา นี่ก็ก่อให้เกิดการย้อนแย้งอีกข้อหนึ่ง เพราะเมื่อความเงียบรุกเข้ามา – ในส่วนลึกของป่าสน ในทะเลทรายว่างเปล่า ในห้องที่ว่างลงทันที – บ่อยครั้ง มันกลับเป็นเรื่องที่ทำให้ประสาทเสีย มากกว่าจะยินดีต้อนรับ ความกลัวคืบคลานเข้ามา หูกลับจับเสียงอะไรก็ได้โดยสัญชาตญาณ ไม่ว่าจะเป็นเสียงไฟเผาฟู่ เสียงนกร้อง หรือเสียงใบไม้พริ้ว นั่นคือเสียงที่จะช่วยหูไว้จากความว่างเปล่าที่ไม่รู้จักนี้ คนเราต้องการความเงียบก็จริงอยู่ แต่ไม่มากขนาดนั้น |